หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล แหลมรัง ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
   
 
 
งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
   
 
 


 
ประชาสัมพันธ์ป้องกันวาตภัย  
 


ประชาสัมพันธ์ป้องกันวาตภัย

              
1  เพื่อป้องกันมิให้เกิดอันตราย และความเสียหายจากวาตภัย  จึงควรป้องกันล่วงหน้าก่อนเกิดวาตภัย ดังนี้
     1. การเตรียมความพร้อมของหน่วยงาน เพื่อรับสถานการณ์วาตภัย เป็นการเตรียมความพร้อม ที่จะหาทางช่วยเหลือ และป้องกันชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน มิให้เกิดความเสียหาย หรือพยายามให้ เสียหายน้อยที่สุด ซึ่งควรเตรียมดังนี้

   1.1 ควรจัดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบ ช่วยเหลือกรณีฉุกเฉิน ซึ่งทำหน้าที่วางแผนปฎิบัติงาน จัดเตรียมอุปกรณ์  และเผยแพร่ความรู้ ให้แก่ประชาชน
          1.2 ควรจัดให้มีระบบการเตือนภัย และช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยมีการกระจายข่าว หรือดินฟ้าอากาศ ประกาศย้ำเตือนบ่อยๆ เมื่อเกิดลมพายุ ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบในด้านนี้มีดังนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา กรมประชาสัมพันธ์ กรมการปกครอง กรมทางหลวง องค์การรถไฟ กรมเจ้าท่า กรมประมง กองตำรวจน้ำ กองทัพเรือกองทัพอากาศ และกรมประชาสงเคราะห์
     2. การเตรียมตัวป้องกันอันตรายเมื่อทราบข่าวว่าจะเกิดวาตภัย เพื่อหลีกเลี่ยง หรือลดความเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้น จากวาตภัยประชาชนควรปฎิบัติดังนี้
          2.1ติดตามฟังข่าวอากาศจากแหล่งข่าวรัฐบาลตลอดเวลา และปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด
         2.2 หากอาศัยอยู่ในที่ราบหรือริมน้ำ ควรรีบทำการอพยพผู้คน สัตว์เลี้ยง และทรัพย์สินขึ้นไปอยู่ในที่สูง ที่มั่นคงแข็งแรง
         2.3 ควรตอกปิดรัดบานประตู หน้าต่างให้แน่นหนา โดยเฉพาะประตูหน้าต่าง กระจก ควรหาไม้ตอกตรึง หรือหาเทป กาวหนังกาวกระดาษปิดทับให้แน่น เพื่อป้องกันลมแรงกระจกแตก การปิดประตูหน้าต่าง จะช่วยปิดกั้นช่องลมทางน้ำได้
          2.4 เก็บสิ่งของ เรือแพ รถยนต์ และอพยพสัตย์เลี้ยงไว้ในที่สูง
          2.5 เตรียมเครื่องมือช่าง เช่น ตะปู ค้อน ลวด เพื่อทำแพไม้ หรือแพถังน้ำมันสำหรับอพยพ
          2.6 ควรดับไฟในเตา ปลดสะพานไฟฟ้า ปิดวาล์วแก๊ส
          2.7 จัดเตรียมน้ำ อาหารแห้ง ยารักษาโรค
          2.8  ตรียมตะเกียง ไม้ขีดไฟ ไฟฉาย พร้อมถ่านแบตเตอรี่

2.3 การปฏิบัติเพื่อให้เกิดสวัสดิภาพจากวาตภัย

     1. ขณะเกิดวาตภัย
          1.1 พยายามคุมสติให้ดีขณะมีลมพายุ
          1.2 ไม่ควรออกมานอกอาคาร
          1.3 ไม่ควรอยู่ในที่ลุ่ม  หรือที่ราบริมทะเล
     2. หลังเกิดวาตภัย หลังจากเกิดวาตภัย ควรปฏิบัติ ดังนี้
          2.1 เมื่อพายุสงบควรรออย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อน เพื่อให้แน่ในว่าพายุสงบแน่นอน
          2.2 หากมีผู้บาดเจ็บให้ช่วยเหลือทันที หรือนำส่งโรงพยาบาล
          2.3 หากมีสิ่งหักพัง ต้นไม้ล้ม ควรเก็บหรือจัดการให้ปลอดภัย
          2.4 ถ้ามีท่อประปาแตก ไม่ควรใช้น้ำประปา เพราอาจทำให้เกิดโรคได้  ควรรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ
          2.5  หากมีเสาไฟฟ้าล้ม สายไฟขาด อย่าเข้าใกล้ ให้ทำเครื่องกีดขวาง เพื่อแจ้งอันตราย และแจ้งให้เจ้าหน้าที่มาจัดการโดยเร็ว

 

ข่าว ณ. วันที่ 25 มี.ค. 2564 เวลา 09.10 น. โดย คุณ อภิชญา บุญมาก

ผู้เข้าชม 157 ท่าน

 
 
 
 
 
 
 

รับเรื่องราวร้องเรียน
โทร : 087-212-6955
 
  Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10